วันอังคารที่ 12 เมษายน พ.ศ. 2554

50 ปี ขุมขน ของข้าพเจ้า

50ปีที่แล้วชุมชนของข้าพเจ้า
- เศรษฐกิจ
บ้านเมืองตอนสมัยนั้น เป็นชุมชนที่มีความอุดมสมบูรณ์ไปด้วยสัตว์ป่าน้อยใหญ่มีห้วย หนองคลองบึง เป็นที่อาศัยของสัตว์ กุ้ง หอย ปู ปลา นกและอื่นๆ ซึ่งแต่ละคนไปหานำมาเป็นอาหารได้ทุกครอบครัว ไม่จำกัดนาเขตโดยไม่ต้องซื้อและผลไม้มากมาย ที่เกิดขึ้นเองโดยธรรมชาติที่ไม่ต้องปลูก หาเอามากินได้เลย ชุมชนในสมัยนั้นจะประกอบอาชีพทำสวน ทำไร่ ทำนา เลี้ยงสัตว์ เช่น วัว, ควาย, หมู, เป็ด, ไก่ฯลฯ ซึ่งเหตุการณ์สมัยนั้น ผมได้จำบทเพลงๆหนึ่งในสมัยนั้นมีอยู่ว่า ผู้ใหญ่ลีตีกลองประชุม
พ.ศ.สองพันห้าร้อยสี่ ผู้ใหญ่ลีตีกลองประชุม
ชาวบ้านต่างมาชุมนุม มาประชุมที่บ้านผู้ใหญ่ลี
ต่อไปนี้ผู้ใหญ่ลีจะขอกล่าว ถึงเรื่องราวที่ได้ประชุมมา
ทางการเขาสั่งมาว่า ให้ชาวนาเลี้ยงเป็ดและสุกร
ฝ่ายตาสีหัวกลอน ถามว่าสุกรนั้นคืออะไร
ผู้ใหญ่ลีลุกขึ้นตอบทันใด สุกรนั้นไซร้ คือหมาน้อยธรรมดา (ซ้ำ) ฯลฯ
เพลงนี้บอกให้รู้ว่า สังคมในขณะนั้นเป็นสังคมเกษตรกรรมอย่างชัดเจน
- การศึกษา
ในสมัยนั้นก็ไม่ได้แพร่หลายเข้าถึงชุมชนชนบทดั่งเช่นทุกวันนี้ การศึกษาจะอยู่ในเมืองใหญ่ เช่น กรุงเทพฯ ชาวชนบทไม่ค่อยรู้ภาษากลางเท่าไรนักที่รู้มากก็ภาษาท้องถิ่น เช่น หมา หมู พอทางเขาให้เลี้ยงสุกรทั้งลูกบ้านและผู้ใหญ่บ้านก็ไม่รู้ว่าสุกรนั้นคืออะไร ผู้ใหญ่ก็ตอบไปตามความเข้าใจว่าสุกรก็คือหมาน้อยธรรมดาๆนี่เอง และสมัยนั้นในชุมชนแทบจะไม่ต้องซื้ออะไรเลยเพราะการเป็นอยู่ที่อุดมสมบูรณ์ ไม่ต้องแข่งขันกันเหมือนสมัยนี้ พึ่งพากัน ช่วยเหลือกัน อยู่แบบเศรษฐกิจพอเพียง
- สังคมการปกครอง
เป็นชุมชนที่น่าอยู่การปกครองยุคสมัยนั้นจะตั้งคนที่นับถือ เชื่อถือได้มาเป็นผู้นำของชุมชนนั้นๆ เวลามีเรื่องเดือดร้อนอะไรหรือมีข่าวทางการมาก็จะใช้วิธี ตีกลอง หรือ ตีเกลาะ ให้ชาวบ้านมาประชุมกัน ซึ่งผิดกับสมัยปัจจุบันนี้ ซึ่งเป็นยุคไฮเทคมากเมื่อมีการประชุมจุมีหนังสือเรียนเชิญ โฆษณา โดยรถแห่ตามหมู่บ้านเสียงตามสายหรือไม่ก็โทรหากันหรือประชุมระบบConferral คือผู้นำการประชุมไม่ได้อยู่ในที่ประชุมหรืออยู่ในต่างประเทศก็สามารถประชุมกันได้เหมือนอดีตนายกทักษิณประชุมลูกพรรคอย่างนี้เป็นต้น
- ทรัพยากร
ในสมัยนั้นสมบูรณ์ไปทุกสิ่ง เช่น ป่าไม้มีมากกว่าปัจจุบันนี้ทำให้ฝนฟ้าตกตามฤดูกาล ถึงหน้านาชาวบ้านก็ได้ทำนาไม่เหมือนปัจจุบันนี้ถึงหน้านาฝนแล้ง ถึงตอนหน้าแล้งฝนตกน้ำท่วมเอาแน่นอนอะไรไม่ได้เลยในน้ำมีปลา ในนามีข้าว เมื่อป่าไม้มีมากสัตว์ป่าก็มีมากมีสัตว์ป่าให้หากินให้ใช้มากมาย เช่น กระรอกไก่ป่า นก ชะมด หมูป่า กวาง ควายป่า ช้าง เป็นต้น
- ภูมิปัญญาชาวบ้าน
ชาวบ้านชุมชนสมัยนั้นนอกจากปลูกข้าวกินเองแล้วยังใช้ภูปัญญาท้องถิ่น ทำครกตำข้าว ครกสีข้าวเองตอนทำนายังใช้ควายไถ่นาแทนเครื่องจักรกล แม้นแต่เครื่องทำงานก็ใช้ภูมิปัญญาของตัวเอง เช่น ด้ามจอบ ด้ามขวาน ด้ามมีดพร้า และอื่นๆอีกมากมาย การรักษาพยาบาล เช่นจะคลอดก็ใช้หมอตำแยคลอด เจ็บป่วยก็ใช้ยาสมุนไพรมาต้มมาบดมาตำกินกันหรือเรียกกันว่า หมอแผนโบราณและอื่นๆอีกมากมาย

- การเปลี่ยนแปลงการดำรงชีวิต
ปัจจุบันนั้นการเปลี่ยนแปลงไปมากโดยไม่หลงเหลืออดีตเอาไว้เลย ที่ทำนาที่เคยทำก็กลายเป็นสวนยาง สวนปาล์ม ทางเข้าหมู่บ้านจัดสรร โรงแรม โรงงานและอื่นๆ บางครั้งไปทำปิดทางน้ำไหล ทำให้น้ำไหลเปลี่ยนทิศทางป่าไม้ถูกทำลายไปมาก ทำให้น้ำท่วมฉับพลันไม่มีต้นไม้ค่อยดูสับน้ำไว้ แต่ในขณะเดียวกันยุคของการเปลี่ยนแปลงในยุคปัจจุบัน ทำให้ผู้คนในชุมชนต้องมีภาระเพิ่มขึ้นตั้งหลายเท่าตัว เช่น รายได้ไม่พอกับรายจ่ายของราคาแพง
ชีวิตของชุมชนในสมัยนี้ที่สำคัญที่สุดคือเรื่องของจิตใจของมนุษย์ย้ำแย่ เห็นแก่ตัว ไม่ว่าเรื่องของสังคม เศรษฐกิจ และวัฒนธรรม
การพัฒนาท้องถิ่นของ มหาลัยชีวิต โดย อาจารย์เสรี พงศ์ทิม เป็นคนริเริ่มทำให้นักศึกษาทุกเครือข่ายทั่วประเทศได้มีโอกาส เอาความรู้ที่ร่ำเรียนมาเพื่อไปพัฒนาจิตใจความเป็นอยู่ชุมชนเพื่อประเทศชาติบ้านเมืองจะได้อยู่ดี มีสุขตามโครงการเศรษฐกิจพอเพียงของในหลวง

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น